วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550
เรียนคอมพิวเตอร์ที่ราชภัฏนครศรีธรรมราช
วันนี้ที่ 16 ธันวาคม 2550มาเรียนคอมพิวเตอร์ ของดร.หัสชัย ย้ายมาเรียนที่ราชภัฏนครศรีธรรมราช เพราะที่เตรียมอุดมระบบอินเตอร์เสีย และสมัครเข้าใน gmail.com สามารถทำได้ และมีประโยชน์มากในการทำงาน อาจารย์สอนดีมากจนฉันสามารถทำได้ ในบล็อกนี้ สามารถเพิ่มเติมข้อความได้เสมอ สนุกมาก ชื่อบล็อก "สาวน้ำแคบ"ชื่อที่ใช้โพสคือ "kun"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
9 ความคิดเห็น:
การจัดการการบริหาร (Administrative Management) เป็นทัศนะการจัดการที่มุ่งในลักษณะหน้าที่ขององค์การและการจัดการโดยการวางแผน (Planning) การจัดการองค์การ (Organizing) การชักนำ (Leading) และการควบคุม (Controlling)
ส่วนประกอบของการจัดการ (Element of Management) Fayol เห็นว่าหลักการบริหารแบ่งได้ตามหน้าที่ ดังนี้
1) การวางแผน (Planning)
2) การจัดการองค์การ (Organizing)
3) การบังคับบัญชา (Commanding)
4) การประสานงาน(Coordinating)
5) การควบคุม (Control)
กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือดกระเจี๊ยบแดง
สรรพคุณ :
กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
คุณค่าด้านอาหาร
น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ
กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูงบัวบก
สรรพคุณ :
ใบ - มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
ทั้งต้นสด
- เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า - รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
- ปวดศีรษะข้างเดียว- ขับปัสสาวะ- แก้เจ็บคอ- เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง- ลดความดัน แก้ช้ำใน
เมล็ด - แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน
ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ
เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน
ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน
เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน
เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษา
น้ำยาล้างจาน
ส่วนผสม :
1. อีเมอร์ 28 ซีที (แชมพูออย) 1 กิโลกรัม
2. โซเดียมลอรี่ซัลเฟต (ผงฟอง) 1 ขีด
3. กรดมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
4. กลิ่นมะนาว 0.5 ออนซ์
5. น้ำ 3 เท่าของแชมพู (5 ลิตร)
6. โซเดียมคลอไรด์ (ผงข้น) 2-3 ขีด (เกลือ 4 ถุงเล็ก)
วิธีทำ :
1. นำอีเมอร์ 28 ซีที ผสมกับน้ำหอมคนให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำลงไปคนให้ทั่ว จากนั้นนำผงฟองมาใส่คนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
2. นำกรดมะนาวละลายในน้ำร้อนเล็กน้อย
3. นำกรดมะนาวที่ละบายแล้วเทลงในส่วนผสมที่ 1 ที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน แล้วจึงนำเอาผงข้นมาใส่ (ค่อยๆ ใส่ทีละน้อยพอประมาณเพื่อให้ข้นขึ้น)
แบบสังเกต
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีการดู การฟัง ร่วมกับการใช้ประสาทสัมผัสอื่น ๆ เช่น การสัมผัส, การดมกลิ่น, การลิ้มรส โดยมากใช้ในการสังเกต บุคลิกภาพของบุคคล สังเกตสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น สังเกตภาษาท่าทาง กิจกรรม ทักษะความสามารถ และสภาพแวดล้อม การสังเกต มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. การสังเกตแบบการเข้าร่วม แบ่งเป็น การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ซึ่งการสังเกตแบบนี้ผู้สังเกตจะเข้าไปอยู่ในหมู่ของผู้ถูกสังเกต และการสังเกตแบบไม่เข้าไปร่วม การสังเกตแบบนี้ผู้สังเกตจะอยู่วงนอกไม่เข้าไปร่วมในกิจกรรมของกลุ่ม การสังเกตทำได้ทั้งให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
2. การสังเกตแบบมีโครงสร้างล่วงหน้า และไม่มีโครงสร้างล่วงหน้า กรณีมีโครงสร้างล่วงหน้า เป็นการกำหนดเรื่องและขอบเขตเนื้อหาในการสังเกตที่แน่นอน ใช้แบบหลักว่าจะสังเกตอะไรบ้าง มีเครื่องมือช่วยสังเกตหรือแบบบันทึก เช่นแบบบันทึกการสังเกต ปฏิกิริยาของผู้ป่วยที่ได้รับทราบว่าตนป่วยร้ายแรง แบบสังเกตจะแบ่งระยะการรับรู้ต่อการเจ็บป่วยระยะต่าง ๆ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการสังเกตมีหลักการแน่นอน การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้างล่วงหน้า เป็นการสังเกตอิสระในประเด็จใดประเด็นหนึ่ง ซึ่งกำหนดไว้กว้าง ๆ ไม่ระบุรายละเอียดว่าจะสังเกตอะไรบ้าง ผู้สังเกตจะสังเกตพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด เครื่องมือมีเพียงกระดาษเปล่า อุปกรณ์อื่นที่จะใช้ช่วยให้ได้ข้อมูลมากขึ้น มีได้ เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น การสังเกตแบบนี้จะยุ่งยากในขั้นตอนการวิเคราะห์แยกประเภทของข้อมูล การสังเกตวิธีนี้ใช้ได้ดีกับการสำรวจสภาพทั่วไป ที่ผู้สังเกตยังไม่ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เพียงพอที่จะวางหลักเกณฑ์ หรือโครงสร้างในการสังเกตได้ เช่น การสังเกตการปรับตัวด้านจิตใจต่อภาวะใกล้ตายในผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นต้น
ขั้นตอนในการสังเกต
1. หาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะไปสังเกตล่วงหน้า
2. สร้างเครื่องมือสำหรับบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสังเกต เรียกว่าแบบสังเกต
3. นำแบบสังเกตที่สร้างแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้น ๆ อย่างน้อย 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา แล้วนำมาปรับปรุง
4. นำแบบสังเกตที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้เพื่อตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความเที่ยง
5. กำหนดวิธีการจะไปสังเกต โดยมากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานไม่สามารถสังเกตได้ตลอดเวลา จะต้องมีการสุ่มสังเกตด้านการสุ่มเวลาและสุ่มเหตุการณ์
ข้อดีของการสังเกต
1. ได้ข้อมูลเด่นชันกรณีใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ไม่ได้
2. สามารถบันทึกเหตุการณ์หรือพฤติกรรมได้โดยใช้เครื่องมือเช่น กล้องถ่ายภาพ เครื่องบันทึกเสียง
3. รวบรวมข้อมูลจากบุคคลที่ไม่สามารถให้คำตอบได้ โดยเฉพาะทารก
4. เก็บข้อมูลจากผู้ไม่มีเวลา
5. ได้ข้อมูลโดยตรง
6. เป็นหลักฐานเพิ่มเติมที่จะสนับสนุนหรือขัดแย้งข้อความในเรื่องเดียวกัน ที่ได้จากการสัมภาษณ์ หรือได้ข้อมูลเสริมความเข้าใจให้เด่นชัดขึ้น
การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยประเภทปฏิบัติการ (Action Research) คือ การวิจัยมีเป้าหมายเพื่อนำผลไปใช้
ปฏิบัติงานจริงด้วย เพราะเป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยมีครูเป็นผู้ทำการวิจัย จึงเรียกว่า การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
(Classroom Action Research : CAR) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research : CR)
การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยเพื่อนำผลไปพัฒนา และถ้าพบข้อบกพร่องก็ทำการวิจัยและนำผลไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยใน
ชั้นเรียนจึงเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) การวิจัยในชั้นเรียนคือการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ค้นคว้า เพื่อสร้างความรู้ใหม่ทางการศึกษาและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ทางการศึกษา ความรู้ใหม่ทางการศึกษา เช่น วิธีสอนเทคนิคการ
สอนรูปแบบการสอนใหม่ หลักการสอนใหม่ ทฤษฎีการศึกษาใหม่ ส่วนสิ่งประดิษฐ์ใหม่ทางการศึกษา คือสื่อการเรียนการสอน เช่น
ชุดการเรียน แบบฝึก แบบฝึกหัดโปรแกรมการเรียน ความรู้และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ได้จาก การวิจัย ผ่านการตรวจสอบอย่างมีระบบ
ผลการวิจัยในชั้นเรียน มีประโยชน์คือ ใช้ผลการค้นพบเป็นแนวทางนำไปจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียน ให้เกิดการเรียน
รู้ตามเป้าหมาย อีกทั้งเป็นการพัฒนาตนเอง คือ เป็นผู้สร้างความรู้เป็น หรือกล่าวว่าครูเป็นนักวิจัยและพัฒนา ทำให้เป็น ผู้ก้าวหน้า
ในอาชีพครู เพราะการค้นพบความรู้ใหม่ จะทำให้ได้ผลงานทางการศึกษาตามมาอีกมากมาย เช่น ตำราที่ได้จากการวิจัย ดังนั้น
กิจกรรมวิจัยในชั้นเรียน จึงต้องควบคู่ไปกับกิจกรรมการเรียนการสอน อันมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุง การเรียนการสอน ครูมืออาชีพ
ควรมีทักษะการสอนให้นักเรียนสร้างความรู้เอง ขณะเดียวกันครูก็สร้างความรู้ทางการศึกษาเองเช่นกัน
วงจร PDCA พบว่ามี
ความเหมือนสอดคล้องกัน
๑. วางแผนวิจัย คือ P-plan
๒. ดำเนินการวิจัย คือ D-do
๓. ตรวจสอบการดำเนินงานตามแผน คือ C-check
๔. ปรับปรุงแก้ไข คือ A-action
PDCA เป็นวงจรพัฒนาคุณภาพงาน เป็นวงจรพัฒนาพื้นฐานหลักของการพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ (Total Quality Management : TQM) ผู้ที่คิดค้นกระบวนการหรือวงจรพัฒนาคุณภาพ PDCA คือ Shewhart นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน แต่ Deming ได้นำไปเผยแพร่ที่ประเทศญี่ปุ่นจนประสบผลสำเร็จ จนผลักดันให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก คนทั่วไปจึงรู้จักวงจร PDCA จากการเผยแพร่ของ Deming "จึงเรียกว่า วงจร Deming" วงจร PDCA ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑. วางแผน (Plan-P) คือ การทำงานใด ๆ ต้องมีขั้นการวางแผน เพราะทำให้มีความมั่นใจว่าทำงานได้สำเร็จ เช่น วางแผนการสอน วางแผนการวิจัย หัวข้อที่ใช้ในการวางแผนคือ วางแผนในหัวข้อต่อไปนี้ ๑) ทำทำไม ๒) ทำอะไร ๓) ใครทำ ทำกับกลุ่มเป้าหมายใด ๔) ทำเวลาใด ๕) ทำที่ไหน ๖) ทำอย่างไร ๗) ใช้งบประมาณเท่าไร การวางแผนวิจัยในชั้นเรียน เป็น การวางแผนตามคำถามต่อไปนี้ why, what, และ how
๒. การปฏิบัติ (Do-D) เป็นขั้นตอนการลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ การปฏิบัติวิจัยในชั้นเรียนตามแผนการวิจัย คือการลงมือเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบปัญหาการวิจัยที่ตั้งไว้ในแผน
๓. ตรวจสอบ (Check-C) เป็นขั้นของการประเมินการทำงานว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ มีเรื่องอะไรปฏิบัติได้ตามแผน มีเรื่องอะไรที่ ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผน หรือปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล การตรวจสอบนี้จะได้สิ่งที่สำเร็จตามแผน และสิ่งที่เป็นข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข
๔. การปรับปรุงแก้ไข (Action-A) เป็นขั้นของการนำข้อบกพร่องมาวางแผนเพื่อการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องแล้วลงมือแก้ไข ซึ่งในขั้นนี้อาจพบว่าประสบความสำเร็จ หรืออาจพบว่ามีข้อบกพร่องอีก ผู้วิจัยหรือผู้ทำงานก็ต้องตรวจสอบเนื้อหาเพื่อแก้ไข แล้วนำไปแก้ไขอีกต่อไป งานของการวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นการทำไปเรื่อย ๆ ไม่มีการหยุด การทำวิจัยไปเรื่อย ๆ เป็น การพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วงจร PDCA เป็นกระบวนการพัฒนางานการวิจัยในชั้นเรียน เป็น การพัฒนาการเรียนการสอน ดังนั้นการวิจัยในชั้นเรียนด้วยการใช้วงจร PDCA จึงต้องเริ่มทีละขั้น P D C A และเคลื่อนหมุนไปเรื่อย ๆ ในแต่ละขั้นหรือแต่ละตัวของวงจร ก็จะต้องมีวงจร PDCA ในตัวของมันเองด้วย
การสัมมนาเศรษฐกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงที่คีรีวง
ในวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2551 กลุ่มหัวไทรได้รับมอบหมายเรื่องการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร เช่น ทุเรียนกวน มังคุดกวน จำปาดะกวน น่าสนุกเพราะยังไม่เคยได้ไปที่นี่มาก่อน อยากให้เพื่อน ๆ ไปทุกคนไหน ๆ พวกเราก็ใกล้จะจบกันแล้ว
แสดงความคิดเห็น